หน้าแรก Sritown.com

ผู้เขียน หัวข้อ: FOMO โรคกลัวตกกระแส ภัยอันตรายสำหรับคนชอบเผือก  (อ่าน 656 ครั้ง)

promotion

  • โจรสลัดจอมลุย / โคโนฮะกลุ่ม 7
  • *
  • กระทู้: 2363



หยุดเผือกไม่ได้จริง ๆ แม๊ !!!

ตลอดทั้งสัปดาห์จนถึงวันนี้ ชาวโซเชี่ยลยังคงเกาะติดสถานการณ์ กรณี 'แตงโม นิดา' พลัดตกเรือกลางแม่น้ำเจ้าพระยาจนเสียชีวิต แม้เวลาจะผ่านมากว่า 12 วันแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ข้อสรุป และมีหลายประเด็นยังเป็นที่ถกเถียงถึงความสมเหตุสมผล และความเป็นไปได้ด้วย
โดยเฉพาะบนแพลตฟอร์ม Twitter ที่ #แตงโม ติดโปรเทรนด์อันดับหนึ่งอย่างต่อเนื่อง
ด้านสื่อมวลชนก็นำเสนอประเด็นนี้อย่างไม่หยุดหย่อนและไม่มีพัก อย่างรายการโหนกระแส ของหนุ่ม กรรชัย ที่ทำหลายคนต้องอุทานร้อง อุ๊ย!  กับการ 'ไขปริศนา แตงโม ตกเรือชีวิต' จนถึงรายการ 'หอนกระแส กับทนายตั้ม' ในวันเสาร์ที่ผ่านมา

ด้วยอุบัติเหตุในครั้งนี้มีข้อพิรุธและเงื่อนงำอยู่หลายอย่าง รวมถึงตัวละครต้องสงสัยที่ผุดขึ้นอย่างกับดอกเห็ด  ชาวโซเชี่ยลอย่างเราเลยต้องพักปัด Tinder แล้วสวมบทคุณฐปนีย์ติดตามข่าวผ่านทุกแฮชแท็กแบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เพราะกลัวจะตกกระแสและคุยกับเขาไม่รู้เรื่อง แต่รู้ไหมว่า อาการชอบเผือกแบบนี้เสี่ยงเป็นโรค FOMO ?








'FOMO' ภัยร้าย อันตรายจากนิสัยชอบเผือก 

เกิดเป็นชาวโซเชี่ยลในยุคนี้แทบไม่เคยได้พักร่าง แถมโปรโมชั่นโรคร้ายต่างเรียงหน้าเข้ามาทักทายกันไม่เว้นวัน ทั้งออฟฟิศซินโดรม กรดไหลย้อน กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ล่าสุดก็พักผ่อนไม่เพียงพอ เพราะต้องผันอาชีพจากพนักงานบริษัทไปเป็นนักข่าวและนักสืบอย่างเต็มตัว แอบแฝงตัวอยู่ในทวิตเตอร์ทั้งวันทั้งคืน เพื่ออัพเดทข้อมูลของชาวบ้าน โดยเฉพาะกรณี 'แตงโม นิดา' ที่เช็คแบบนาทีต่อนาทีไม่ให้ตกขบวนรถทัวร์ หรือนี่จะเป็นอาการของโรค FOMO 





Gica Antigen Test Cassette ATK ชุดตรวจ 2in1
[ตรวจได้ทั้ง น้ำลาย/แยงจมูก] ชุดล่ะ 70 บาท
ยก 10 SET คลิ๊กเลย!!
V
V
V





จำนวนจำกัด..พกติดไว้เที่ยวไหนก็สบายใจ





รู้จัก 'FOMO' อันตรายแค่ไหนแม๊ ?

FOMO (Fear Of Missing Out) คือ อาการของคนที่กลัวการตกข่าว กลัวตกกระแส กลัวตก promotions  อีกทั้งกลัวการไม่เป็นที่ยอมรับ และกลัวไม่ได้เป็นคนสำคัญ จึงต้องคอยอัพเดทเช็คข่าวสารตลอดเวลา จนทำให้เกิดความเครียด

อาการนี้พบมากในหมู่ 'วัยรุ่น' เพราะเป็นช่วงที่สมองส่วนอารมณ์กำลังพัฒนา แต่สมองส่วนเหตุผลยังทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ รวมถึงเป็นวัยที่กำลังค้นหาตัวเอง อยากเป็นที่ยอมรับ และอยากมีความสำคัญ โดยส่วนใหญ่คนที่มีอาการ FOMO มักจะไม่รู้ตัวเอง เพราะคิดว่าเป็นการติดตามข่าวสารปกติไม่ได้ถึงขั้นเสพติด นอกจากนี้อาการ FOMO ยังเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาและโรคร้ายอื่น ๆ ดังนี้ 

โรคหลงตัวเอง
รับฟังคนอื่นได้น้อยลง
โกรธแค้นง่าย เมื่อไม่ได้ดั่งใจ
โรคซึมเศร้า









เช็ค! เข้าข่ายอาการ 'FOMO' ไหมแม๊ ?


- อารมณ์แปรปรวนง่าย หงุดหงิด และกระวนกระวาย เมื่อไม่ได้เล่นโซเชี่ยล

- ใช้เวลาไปกับสมาร์ทโฟน ทั้งเช็ค แชร์ ไลค์ ไถฟีด มากกว่า 6 ชม. ต่อวัน

- เสพติดแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น Facebook, Twitter, Instagram, Tiktok หรืออื่น ๆ

- กลัวตกข่าว กลัวตก promotion และไม่ทันกระแส ต้องตามเก็บทุกแฮชแท็ก และทุกดราม่า

- กังวลเมื่อถูกคอมเมนต์ในเชิงลบ หรือโดนตำหนิในโซเชี่ยลมีเดีย

- ชอบเปรียบเทียบตัวเองกับคนบนโลกออนไลน์ และรู้สึกด้อยค่าในตัวเอง


โดยจากการวิจัยพบว่า 64% มีอาการ FOMO เมื่อไม่ได้เล่นอินเตอร์เน็ต โดย 80% เป็นชาวเอเชีย และอีก 56% กลัวการตกข่าว หากไม่ได้เข้ามาเช็คหรืออัพเดทบ่อย ๆ





อ่านบทความฉบับเต็มคลิ๊กเลย >>>
อาการFOMO








โรค 'FOMO' รักษาได้ไหมแม๊ ?

บอกเลยว่า โรค FOMO สามารถรักษาให้หาย และดีขึ้นได้ ถ้าทำตาม 6 ข้อด้านล่างนี้

- ยืดอกยอมรับแบบแมน ๆ ว่าตัวเองเสพติดโซเชี่ยลมีเดีย

- หยุดเถิดอานนท์ 'วางโทรศัพท์' แล้วหางานอดิเรกทำซะ

- ใช้เวลากับคนรอบข้างมากขึ้น พักทักแชทแล้วไปพบกันในโลกความจริง

- ยกห้องนอนให้เป็นพื้นที่ 'No Mobile' และมีไว้สำหรับพักผ่อน 100%

- ละสายตาจากหน้าจอโทรศัพท์ทุก ๆ 2 ชม. แล้วเปลี่ยนไปอ่านหนังสือแทน

- ตั้งเป้าทำ Social Detox เริ่มต้นงดจากรายชั่วโมง แล้วค่อย ๆ ขยับไปเป็นวันหรือเดือน


นอกจากอาการ 'FOMO' ที่มากับการเสพติดโซเชี่ยลมีเดียมากจนรบกวนการดำเนินชีวิตแล้ว ชาวโซเชี่ยลมีเดียทั้งหลายอาจสุ่มเสี่ยงต่อ 'Headline Stress Disorder' หรือภาวะเครียดและวิตกกังวลจากการเสพข่าว หรือดราม่าผ่านสื่อต่าง ๆ มากเกินไป หรือจะเรียกง่าย ๆ ว่า ชอบเผือกเรื่องชาวบ้านมากนั่นเอง ซึ่งภาวะนี้สามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ จนนำไปสู่อาการไม่พึงประสงค์ เช่น ใจสั่น แน่นหน้าอก นอนไม่หลับ วิตกกังวล ซึมเศร้า หรือโกรธได้ เพราะฉะนั้นควรตามเผือกแต่พอดี 



แต่ถ้าลองทำตามคำแนะนำแล้วยังเครียดมาก เปย์เป้ขอแนะนำว่า ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ อย่างสายด่วนสุขภาพจิต 1323 หรือ chatbot 1323 หรือ ปรึกษานักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ ด้วยรักและห่วงใยนะแม๊ !!!



ที่มา: สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์, RAMA Channel, กรุงเทพธุรกิจ