หน้าแรก Sritown.com

ผู้เขียน หัวข้อ: “ขาดมือถือ เหมือนขาดใจ” นี่แหละอาการของ โนโมโฟเบีย  (อ่าน 1670 ครั้ง)

promotion

  • โจรสลัดจอมลุย / โคโนฮะกลุ่ม 7
  • *
  • กระทู้: 2510


NO MOBILE PHONE PHOBIA
'โรคใหม่แห่งยุคสังคมก้มหน้า'
คืออะไร? ทำไมต้องระวัง?
พี่โปรโมชั่นเรามีคำตอบมาให้แล้วจ้าา



    ถ้าพูดถึงโนโมโฟเบีย ทุกคนจะต้องเกิดความสงสัยกันแน่นอนว่ามันคืออะไร บอกได้เลยว่าคำๆ นี้ เป็นคำที่คนในสังคมทั่วไปควรจะต้องให้ความสำคัญกันมากๆ เพราะโนโมโฟเบีย หรือ Nomophobia นี้มาจากการผสมผสานของคำว่า No Mobile Phone Phobia เป็นคำที่แสดงถึงอาการของการเสพติดโทรศัพท์มือถือขั้นรุนแรงที่เรามักจะเห็นได้บ่อยในปัจจุบัน หรือใครที่มีอาการเสพติดมือถือกันอยู่ พี่ promotion บอกเลยว่าต้องระวังกันไว้ให้ดี เพราะเผลอๆ คุณอาจจะมีแนวโน้มเป็นโรคนี้ โดยที่คุณอาจไม่รู้ตัวกันก็ได้





Nomophobia คืออะไร?

   Nomophobia (โนโมโฟเบีย) มีที่มาจากคำว่า No Mobile Phone Phobia เป็นกลุ่มอาการของคนที่มีพฤติกรรมเสพติดการใช้มือถือมากกว่าปกติ มักจะแสดงอาการหวาดระแวงและกังวลเป็นอย่างมาก โดยมีสาเหตุหลักๆ มาจากการใช้โทรศัพท์มือถือนั่นเอง

และถึงแม้ว่าทางการแพทย์ยังไม่มีข้อกำหนดให้ Nomophobia นี้เป็นโรคร้ายแรง แต่ลักษณะของอาการและสาเหตุนั้นมีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนในสังคมโดยตรง ซึ่งมีแนวโน้มว่าในอนาคตนั้นจะถูกนำไปจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับโรคจิตเวชในหมวดวิตกกังวลอีกด้วย






ลักษณะอาการของ Nomophobia

   กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณะสุข ได้เปิดเผยถึงลักษณะอาการของคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงว่าจะมีการเสพติดมือถือว่า บางรายมีอาการเครียด ตัวสั่น เหงื่อออก รวมถึงคลื่นไส้เวลาที่ไม่มีมือถืออยู่กับตัว เมื่อนานเข้าจะเกิดอาการนิ้วล็อก ตาพร่า ตาล้า ตาแห้ง หรือเผลอๆ อาจจะร้ายแรงจนถึงขั้นทำให้จอประสาทตาเสื่อมเลยทีเดียว

จากสถิติในปัจุบันนี้  พี่ โปร เห็นแล้วก็น่าตกใต เพราะกลุ่มเสี่ยงที่มีอาการเสพติดมือถือมากที่สุดคงจะหนีไม่พ้น วัยรุ่น ที่มีอายุระหว่าง 18-24 ปี คนวัยทำงาน อายุระหว่าง 25-34 ปี และวัยใกล้เกษียณตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป





พฤติกรรมสุ่มเสี่ยงที่ควรระวัง

มาเช็กดูกันดีกว่าว่าเรามีพฤติกรรมอยู่ในกลุ่มที่สุ่มเสี่ยงไหม จากทั้งหมด 10 ข้อนี้เป็นตัวเราไปแล้วกี่ข้อกันเอ่ย ถ้ามากกว่า 5 ขึ้นไปนี่ต้องระวังกันแล้วนะ เป็นห่วงเด้อออ

1.พกโทรศัพท์มือถือติดตัวตลอดเวลา

2.ถ้าโทรศัพท์มือถือไม่ได้อยู่ในมือ เราจะคลำหามันทันที

3.ต่อให้ไม่มีใครส่งข้อความมาหาเรา เราก็จะรีเช็กมันอยู่เรื่อยๆ

4.ถ้ามีเสียงข้อความเข้า ต่อให้ไม่ใช่ของเรา เราก็จะเข้าไปเช็กดู

5.หลังจากตื่นนอนเราจะหยิบเอาโทรศัพท์ขึ้นมาเช็กเป็นสิ่งแรก

6.ก่อนจะเข้านอน เรามักจะหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเล่นจนกว่าจะง่วง

7.ใช้โทรศัพท์ระหว่างทานข้าว ขับรถ เข้าห้องน้ำ หรือแม้แต่นั่งรถโดยสาร

8.ถ้าลืมโทรศัพท์ เราจะกระวนกระวายใจทันที

9.ห้ามใจไม่ให้เล่นโทรศัพท์ภายใน 1 ชั่วโมงไม่ได้

10.ชอบคุยกับเพื่อนผ่านโลกออนไลน์มากกว่าตัวจริง




ขอบคุณ เพจ Phathavie Organic ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ
เพื่อการ
ปลูกผม ด้วยวิถีธรรมชาติ





ถ้ารู้ตัวว่าสุ่มเสี่ยง เราจะรับมือกับมันยังไง?

  ถึงแม้ว่าโนโมโฟเบียจะไม่ได้เป็นโรคร้ายแรง แต่ถ้าเรารู้ตัวว่าตนเองกำลังตกอยู่ในสภาวะสุ่มเสี่ยง ก็ควรที่จะรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ของเราทันที รู้จ่ะว่ายาก แต่ลองเริ่มจากอะไรง่ายๆ ก่อน อย่างเช่น พักเล่นโทรศัพท์สัก 10-30 นาทีต่อวัน แล้วใช้เวลาที่พักนั้นไปกับกิจกรรมอื่นๆ อาทิ ดูหนัง, ฟังเพลง, เดินห้าง ฯลฯ เมื่อรู้สึกว่าตนเองเริ่มห่างจากการเล่นมือถือมาได้แล้วก็ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนเวลาให้มากขึ้น เชื่อเถอะว่าทุกอย่างจะดีขึ้นเอง ดังนั้นไม่ต้องวอรี่กันไปน้าา




ปันโปรสรุปให้

-ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของเรากันมากขึ้น อย่างโทรศัพท์มือถือเองก็ถือว่าเป็นหนึ่งในสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของเราเช่นกัน ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยว่า คนในสังคมจะมีพฤติกรรมการเสพติดมือถือขึ้นมา

-Nomophobia คือผลกระทบที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการเสพติดมือถือ ซึ่งส่งผลกระทบในแง่ลบต่อคนๆ นั้นทั้งทางจิตใจและสุขภาพ

-ทางแก้ที่ดีที่สุดคือการ พยายามจำกัดเวลาการเล่นโทรศัพท์ของตนเองให้น้อยลง และหันมาทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ส่งผลในแง่ดีกันให้มากขึ้น เพียงเท่านี้เราก็ห่างไกลจากอาการโนโมโฟเบียนี้กันแล้วจ้าา




ขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก เว็บ ปันโปร
เว็บแจ้งข้อมูล sale และ สินค้า ลดราคา  มาให้คุณ